2.10.53

ความรู้เรื่อง การจับคู่สี จิตวิทยาการใช้สี

จาก วิธีการเลือกแมทช์คู่สี เสื้อกับเนคไท จาก คุณ"สตาร์ล่าราชินีงานพรอม" เว็บพันทิพ เราได้แยกความรู้เรื่องสี มาไว้ต่างหาก

ก็อย่างที่ คุณสตาร์ล่า บอกไว้ว่า ความรู้เรื่องสี หรือ ทฤษฏีสี (ใช้คำนี้จะวิชาการ หน้ายู่ไปเลยนิ)

"สามารถนำไปใช้ได้ทุกเรื่อง ไม่ใช่แค่เรื่องเนคไท กับเสื้อเชิ๊ต แต่สามารถนำไปเลือก เครื่องประดับ รองเท้า กระเป๋า โอ๊ย สารพัดสารเพ คือครอบจักรวาลน่ะ"
เราก็เลยแยกไปไว้ให้อ่านกันถ้วนทั่วหน้า ใช้ได้กับทุกงาน ไปอ่านต่อกันได้เลย..

ถ้าเราเอาแถบสีของสีรุ้งกินน้ำมาโค้งเข้าให้เป็นวงกลม เราจะได้วงที่มี 8 สี โดยเพิ่มสีม่วงแดง ซึ่งเป็นรอย บรรจบกันของม่วงกับแดงเข้าไป 1 สี ถ้าเพิ่มเขียวเหลือง เหลืองส้ม แสด และน้ำเงินเขียวเข้าไปอีก 4 สี จะได้ดวงสีธรรมชาติ 12 สีที่มีความสมดุลกัน

  • แม่สีหรือสีขั้นต้น ( Primary Colours )  ในจำนวน 12 สีนี้มีอยู่ 3 สีที่เราไม่อาจผสมขึ้นได้ คือ เหลือง แดง และน้ำเงิน เราเรียกว่า แม่สี แม่สีทั้ง 3 นี้สามารถจะนำมาผสมกันให้เกิดเป็นสีอะไรก็ได้
  • สีขั้นที่ 2 (Secondary Colours)  ถ้านำแม่สีทั้ง 3 นี้มาผสมกันเข้าทีละคู่ เราจะได้สีขั้นที่ 2 หรือลูกสีเพิ่มขึ้นอีก 3 สี คือ ส้ม เขียว และม่วง
  • สี่ขั้นที่ 3 (Tertiary Colours)  และถ้าเรานำสีขั้นที่ 2 ผสมกับแม่สีทีละคู่ 2 ผสมกับแม่สีทีละคู่ เราจะได้สีเพิ่ม ขึ้นอีก 6 สี คือ เหลืองส้ม แดงส้ม เขียวเหลือง เขียวน้ำเงิน ม่วงแดง และม่วงน้ำเงิน
  • สีกลาง (Nemplementary Colours) ถ้านำสีสีมาผสมรวมกันเข้า จะได้สีเทาแก่ๆ เกือบดำ เรียกว่า สีกลาง แม่สี 3 สีมาผสมรวมกันเข้าก็ได้สีกลางเช่นเดียวกัน
คู่สี (Complementary Colours)
สีที่อยู่ตรงกันข้ามกัน ในวงสีธรรมชาติเป็นคู่สีกัน ถ้านำมาวางเคียงกัน จะให้ความสดใส ให้พลังความจัด ของสี ซึงกันและกัน ทำให้เกิดการตัดกัน หรือ ขัดแย้งกันอย่างมาก บางทีก็เรียกคู่สีนี้ว่า เป็นสีตัดกันอย่าง แท้จริง (True Contrast)
คู่สีนี้ถ้านำมาผสมกัน จะได้เป็นสีกลาง แต่ถ้านำสีหนึ่งเจือลงไปในสีคู่ ของมันเล็กน้อย จะทำให้ สีนั้นหม่นลง ถ้าเจือมากจะหม่นมาก เราอาจใช้สีคู่หรือสีตรงข้ามนี้แทนสีดำในการทำสีให้หม่นลง

สีข้างเคียง (Analogous Colours)
สีที่อยู่เคียงกัน ในวงสีธรรมชาติ เช่น เหลืองกับเหลืองส้ม จะกลมกลืนกัน ถ้ายิ่งห่างกัน ออกไป ความกลมกลืน จะลดน้อย ความขัดแย้งหรือ ความตัดกันจะเพิ่มมากขึ้น การตัดกันของ สีแบบนี้เรียกว่า การตัดกันพร้อมกัน(Simultaneous Contrast) และถ้าสีทั้ง 2 นั้นห่างกันไปจนถึงจุดตรงข้ามกัน ก็จะกลายเป็นคู่สี หรือตัดกันอย่างแท้จริง
สีที่ตัดกันพร้อมกันนี้ถ้านำมาเคียงกัน สีตรงข้ามของแต่ละสีจะ ทอรังสีเข้าไปเจืออีกสีหนึ่ง ทำให้สีนั้นดูเปลี่ยนไป เช่น เมื่อนำเหลืองกับแดงมาเคียงกัน สีเหลืองจะดูเป็นเหลืองเขียวขึ้น และสีแดงจะดูเป็นแดงม่วง

การใช้สี
การใช้สีมีอยู่ 2 วิธีใหญ่ ๆ คือ การใช้สีกลมกลืน กับการใช้สีตัดกัน ใช้ แต่ละสี ให้กลมกลืน หรือตัดกัน เพียงไรนั้น ย่อมขึ้นอยู่กับจุดหมายในการมิกช์ แอนด์ แมทช์ เสื้อผ้าของแต่ละคน ถ้ากลมกลืนจนเกินไปก็จืดชืดและน่าเบื่อ  ถ้าตัดกันมากเกินไปก็เกิดความขัดแย้งสับสนจนทนไม่ได้ การใช้สีทั้ง 2 วิธีนี้ยังพอแยกออกได้เป็น 7 แบบ คือ
1. สีเอกรงค์ (Monochrome) ได้แก่ การใช้สีสีเดียวที่มีน้ำหนักอ่อนแก่หลายลำดับ เป็นการใช้กลมกลืน แบบสีเดียว
2. สีข้างเคียง เป็นการใช้สีกลมกลืนแบบ 2 สี หรือ 3 สี
3. สีตรงข้าม เป็นการใช้สีตัดกันอย่างแท้จริง
4. สีเกือบตรงข้าม เป็นการตัดกันของสีที่ไม่ใช่คู่สี
5. สีตรงข้าม 2 คู่เคียงกัน เป็นการใช้สีที่ตัดกันน้อยกว่าวิธีที่ 3 เพราะ มีสีข้างเคียงที่กลมกลืนกันอยุ่ด้วย
6. สี 3 เส้า เป็นการใช้สีที่ตัดกันด้วยความเป็นแม่สี มีความเด่นอยู่ในตัวของทุกสี
7. สี 4 เส้า เป็นการใช้สีตัดกันอย่างแท้จริงถึง 2 คู่ แต่ก็ยังตัดกันน้อยกว่าวิธีที่ 3 เพราะยังมีสีข้างเคียง ที่พอจะเป็นตัวกลางให้เข้ากันได้บ้าง เช่น เหลืองส้มกับแดง หรือเหลืองส้มกับเขียว แดงกับม่วง หรือ แดงกับเหลืองส้ม

สีอุ่น-สีเย็น
ถ้าเราแบ่งวงสีธรรมชาติออกเป็น 2 ซีกด้วยเส้นดิ่งเส้นหนึ่ง ซึกทางซ้ายมือซึ่งมีเหลือง (ครึ่งหนึ่ง) เหลืองส้ม ส้ม แดง ส้ม ม่วงแดง และม่วง (ครึ่งหนึ่ง) จะเป็นสีอยู่ในวรรณะอุ่น ซีกทางขวาซึ่งมีเหลือง (อีกครึ่งหนึ่ง) เหลืองเขียว เขียว น้ำเงินเขียว น้ำเงิน ม่วงน้ำเงิน และม่วง (อีกครั้งหนึ่ง) จะอยู่ในวรรณะเย็น สีม่วงและเหลืองเป็นสีที่อยู่วรรณะกลางๆ ถ้าอยู่ในกลุ่มของสีอุ่นก็จะอุ่นด้วย ถ้าอยู่ในกลุ่มสีเย็นก็จะเย็นด้วย

จิตวิทยาในการใช้สี  ตรงนี้อยากฝากเอาไว้ สำหรับใช้เพื่อ นำไปประยุกต์กับเรื่องของจิตวิทยาในการแต่งตัว ตามโอกาสต่าง ๆ เพราะสีทุกทีมีอิทธิพลต่อความรู้สึกมนุษย์ อาจทำให้คุณ ๆ ประสบความสำเร็จด้านการงาน เพราะเซนส์ในการแต่งต้วก็ได้ ใครจะไปรู้

ทฤษฎีเกี่ยวกับสีอย่างมากมายแตกต่างกันไปพูดวันนี้ก็ไม่จบ ซึ่งก็ขึ้นอยู่กับลักษณะของการนำไปใช้ หรือคุณค่าเฉพาะของสี แต่ละสี ย่อมจะเป็นตัวแทน ของอารมณ์ต่างๆ ในวัตถุที่มีสีปรากฏขึ้นในตัวเมื่อสายตา ได้สัมผัสวัตถุได้เห็นความแตกต่าง หลากหลายของสีย่อมเกิดความรู้สึกต่างๆขึ้น เช่น ตื่นเต้น หนาวเย็น อบอุ่นอ่อนหวาน
นอกจากสีที่เกิดขึ้น แล้วสียังเป็นสัญลักษณ์แสดงถึงนามธรรม บางประการอีกด้วย เช่น ความสงบสุข ความสันติ การเคลื่อนไหว อันตราย
การ มีความรู้ในเรื่องสี ของผู้ที่ต้องการเชี่ยวชาญ ด้านการแต่งกาย ในกับจับคู่เสื้อผ้า แต่ละชิ้น จึงเป็นส่วนสำคัญ การเรียนรู้ถึงอิทธิพลต่อความรู้สึก ของการมองสีแต่ละสี จึงมีความจำเป็น **ผู้ที่ประสบความสำเร็จด้านการงาน ดูมีพลังอำนาจและบุคลิกภาพที่ดี ก็เพราะจิตวิทยาในการใช้สีนี่แหละ เป็นพื้นฐานสำคัญ"   ดังตัวอย่างต่อไปนี้

  • สีแดง  เป็นสีของไฟ การปฏิวัติ ความรู้สึกทางกามอารมณ์ ความปรารถนา ร้อนแรง อันตราย สีของความอ่อนเยาว์ ดังนั้นจึงเป็นสีที่ชอบมากสำหรับเด็กๆ สีแดงเป็นสีที่มีพลังมาก สามารถบดบังสีอื่นๆ จึงไม่เหมาะ ที่จะนำมา เป็น สีของชุดทั้งชุด (เช่น เสื้อก็แดง กางเกง ก็แดง เนคไท ยังแดงอีก เครื่องประดับ ก็แดงเถือก )
  • สีชมพู  เมื่อนำสีแดงมาผสมกับสีขาว เป็นสีชมพู สีแดงจะลดพลังลง ทำให้เกิดความรู้สึกอ่อนหวานนุ่มนวลเป็นกวี มากขึ้น แต่ถ้าสีแดงถูก ผสมให้เข้มคือสีน้ำตาล ไม่ว่าอ่อนแก่ ต่างกันจะให้ความรู้สึกเกี่ยวกับพื้นดิน ความมั่นคง ความแข็งแรง ความเป็นจริงและอบอุ่น
  • สีเหลือง เป็นสีที่มีพลังด้านความสว่างอยู่อย่างมาก ให้ความรู้สึกเย็นมากกว่า สีเหลืองอมส้ม แต่อุ่นกว่า สีเหลือง อมเขียว สีเหลืองสะท้อนถึงสติปัญญา มากกว่าจิตใจ คุณลักษณะของสีเหลืองจะรู้สึกได้ เมื่อมีสีทองปรากฏอยู่
  • สีเขียว เป็นสีทางชีววิทยา ซึ่งใกล้เคียงธรรมชาติ และช่วยให้ความคิดพลุ่งพล่านสงบลง เป็นสีกลางๆ ไม่เย็นไม่ร้อน ถ้าปนน้ำเงินจะดูเป็นน้ำ สีเขียวอมฟ้า เป็นสัญลักษณ์ของน้ำ
  • สีน้ำเงิน เป็นสีที่ช่างเก็บกด ช่างฝัน เปล่าเปลี่ยว แต่อีกนัยหนึ่งก็คือความ สงบ มีระเบียบ สง่างาม ถึงแม้ว่าการทำให้ใสขึ้นโดยการผสมสีขาวเข้าไปด้วยก็ตาม สีน้ำเงินทำให้เกิดความประทับใจ ความสะอาด
  • สีเหลือง สีเขียว สีม่วง ทุกระดับสี มีค่าแตกต่างกันขึ้นอยู่กับสีที่มาผสม สีดังกล่าว อาจทำให้ เกิดความรู้สึก ในทางบวก การแสดงออกเต็มไปด้วยความรู้สึกชาญฉลาด หรือความรู้สึกในทางลบกดดันก็ได้
  • สีม่วง แสดงความรู้สึกใคร่ครวญการทำสมาธิ ความลึกลับ เวทย์มนต์คาถา และความเก่าแก่โบราณ สงบนิ่ง ความผิดหวัง
  • สีทอง มีตำแหน่งสีใกล้สีส้ม และนับว่าเป็นสีอุ่น ในขณะที่สีเงินจัดเป็นสีเย็น และมีความคล้ายคลึงกับ สีเทา
  • สีดำ เป็นสัญลักษณ์แห่งความมืดความสว่าง **การแต่งกายด้วยชุดสีดำ ทำให้ดูมีค่าทางบวกมากขึ้น เพราะส่วนประกอบของชุด จะต้องเป็นสีอื่นแน่นอน (เช่นเนคไทสีขาว)
  • สีขาว ให้ความร้สึก สะอาด บริสุทธิ์
ความ รู้เรื่องสี สามารถนำไปใช้ได้ทุกเรื่อง ไม่ใช่แค่เรื่องเนคไท กับเสื้อเชิ๊ต แต่สามารถนำไปเลือก เครื่องประดับ รองเท้า กระเป๋า โอ๊ย สารพัดสารเพ คือครอบจักรวาลน่ะ

ใช้เวลาตอบนานหน่อย เพราะเนื้อหาค่อนข้างเยอะ รูปก็สแกนเอง เอามาจากนิตยสารที่บ้าน (ถือเป็นคัมภีร์ไบเบิ้ลของดิชั้น) แต่ทั้งหมดนี้เพื่อแฟน ๆ พันทิพโดยเฉพาะ
สุดท้ายนี้ ขอให้ฝันดีกันทุกทั่นค่ะ คุณ ๆ

จากคุณ : สตาร์ล่าราชินีงานพรอม [ 4 ก.ย. 47 00:41:58 ]

หวังว่าคงจะเอาประยุกต์ใช้ได้สมใจนะ  แต่ถ้ายังติดพันเรื่อง "เนคไท" ก็อย่าลืมอ่านเกี่ยวกับการดูแลรักษา และเลือกซื้อ ดูเนื้อผ้าและการตัดเย็บเน็คไท มีอีกเยอะ..



แหล่งข้อมูล : คุณสตาร์ล่าราชินีงานพรอม  เว็บพันทิพ

ไม่มีความคิดเห็น:

สถิติผู้เยี่ยมชมทั้งหมด

Flag Counter

ขอบคุณ ผู้ชมเดือนนี้