15.8.53

วิธีทำ " เครื่องแขวนปลาตะเพียนใบลาน" ตอน 1 ส่วนประกอบ

รู้สึกว่าเราจะลัดขั้นตอนหน่อยนะ  หัด "สานปลาตะเพียน" ไปแล้ว ค่อยรู้จัก "ความเป็นมาและเรื่องราวของปลาตะเพียนสาน"  ตอนนี้ค่อยมาดู "ส่วนประกอบต่าง ๆ ของเครื่องแขวนปลาตะเพียนใบลาน"
 ปลาตะเพียนใบลานสาน มี 2 ชนิดตามที่เคยบอกนั้น  สมัยก่อนนิยมดังนี้

  1. ชนิดที่เขียนเป็นลวดลายตกแต่งสวยงาม  สำหรับแขวนเหนือเปลลูกผู้มีบรรดาศักดิ์
  2. ชนิดเป็นสีใบลานเรียบๆ ไม่มีการตกแต่งอย่างใด ใช้แขวนเหนือเปลลูกชาวบ้านธรรมดาสามัญ 
ปลาตะเพียนใบลานที่มีลวดลายสีสันต่างๆ อย่างที่เห็นในปัจจุบัน เป็นปลาตะเพียนที่ประดิษฐ์ขึ้นใหม่ในสมัยรัชกาลที่ 5  สืบทราบได้เป็นเลาๆ ว่าหลวงโยธาฯ ข้าราชการเกษียณผู้มีนิวาสสถานอยู่ใกล้สะพานหัน ตำบลวังบูรพา กรุงเทพฯ เป็นผู้ประดิษฐ์คิดทำให้สวยงามขึ้น แล้วนำขายตามงานวัดต่างๆ นับแต่นั้นมาคนก็หันมานิยมปลาตะเพียนสานกันมากขึ้น

ถึงเดี๋ยวนี้เด็ก ๆก็ไม่ได้นอนเปล นอกจากชนบทที่ยังพอจะได้เห็นกันอยู่ แต่ก็ยังมีที่นำมาตกแต่งร้านอาหาร หรือที่พัก ที่น่าสนใจเราเคยอ่านข่าวการประกวดทำอาหารระดับนานาชาติ มีคนไทยสานปลาตัวเล็ก ๆ ประกอบไว้  พอกรรมการเห็นปุ๊ป..ก็อุตส่าห์เขี่ย (ปลาตัวเล็ก ๆ จำได้ว่าเค้าใส่ในอะไรอีกที ไว้แต่งอาหาร) พอเห็นว่าสานจริง ไม่ใช่ตุ๊กตา เค้าประทับใจมากเลยนะ (นอกเรื่องอีกละ)

ส่วนประกอบเครื่องแขวนปลาตะเพียนใบลาน  มี 6 ส่วน 
  1. แม่ปลา   คือ ปลาตะเพียนตัวใหญ่ที่สุด มีตัวเดียว
  2. ลูกปลา   คือ ปลาตะเพียนตัวเล็ก มีหลายตัว
  3. กระโจมปลา หรือ กระจังบน    คือ ส่วนที่อยู่บนสุดของพวงปลาตะเพียนใบลานในแต่ละชุด  มีลักษณะคล้ายดาวแปดแฉกมีส่วนนูนขึ้นทั้งสองด้านทั้งด้านบนและด้านล่าง 
  4. ปักเป้า หรือ ลูกคั่น หรือ เม็ด   ลักษณะคล้ายรูปขนมเปียกปูนใช้คั่นระหว่าง กระโจมปลากับแม่ปลา  เป็นเครื่องตกแต่งเข้าชุดปลาตะเพียนใบลานให้ดูสวยงาม   
  5. ใบโพธิ์ หรือ ลูกมังคุด   ลักษณะเป็นแผ่นตัดเป็นรูปข้าวหลามตัด ผลมะเฟือง รูปหัวใจ ใช้ตกแต่งรอบกระโจมปลาและกระทงเกลือ 
  6. กระทงเกลือ หรือ ดาว    ลักษณะเหมือนดาวห้าแฉกใช้ครอบส่วนบนของลูกปลา  


ปลาตะเพียนใบลานสาน แบบธรรมชาติ ไม่แต่งสี ไม่สารกันบูด ^  ^



ลงสีแล้ว แบบไทย ๆ เลย

 สวยมะ  เท่าไหร่ไม่รู้


ส่วนใหญ่จะเห็นสีแดงมากกว่าเขียวนะ

คราวหน้าไปดูวิธีทำกันจ้ะ


แหล่งข้อมูล : 
http://www.panyathai.or.th              http://www.bloggang.com/mainblog.php?id=1105   
แสงมณี ด้นประดิษฐ์ นศ.ช่วยงานพัฒนาและจัดการสารสนเทศ ห้องสมุดมหาวิทยาลัยรามคำแหง
คุณบุญวาสนา โอเคเนชั่น     กรมวิทยาศาสตร์บริการ    สำนักหอสมุดกลาง รามคำแหง

1 ความคิดเห็น:

Unknown กล่าวว่า...

ขอบคุณมากๆค่ะ

สถิติผู้เยี่ยมชมทั้งหมด

Flag Counter

ขอบคุณ ผู้ชมเดือนนี้