27.6.53

หลักการทำงานของนกหวีด

จากหน้า สารบัญ ของบล็อก ที่มีหมวดหมู่  "วิธีทำนกหวีดแบบต่าง ๆ"  ซึ่งหลายคนอาจเข้าไปอ่าน และทดลองทำกันแล้ว  คราวนี้เรามาดูหลักการทำงานของมันบ้างดีกว่า  เดี๋ยวจะหาว่าเอาแต่เล่นเนอะ  มีวิชาการประดับสมองกันบ้าง



นกหวีด คือ เครื่องดนตรีประเภทเป่าลมที่มีเสียงดนตรีเพียงระดับเดียว  ซึ่งเสียงดนตรีนั้นเกิดขึ้นจากกระแสลมที่เป่าเข้าไปในนกหวีด
 
นกหวีดมีกลไกการเกิดเสียง โดยทำให้เกิดลมที่เคลื่อนผ่าส่วนที่มีลักษณะเป็นใบแคบๆ ซึ่งเรียกว่า “ฟิปเปิ้ล” ก่อให้เกิดลมวนที่เคลื่อนตัวพลุ่งพล่าน เป็นเหตุให้อากาศสั่นสะเทือนจึงทำให้เกิดคลื่นเสียงขึ้น ส่วนช่องขนาดใหญ่ที่ประกอบเป็นส่วนปลายของนกหวีดนั้นทำให้เสียงดังกังวาน ขึ้น และอาจสามารถปรับระดับเสียงดนตรีให้จำเพาะเจาะจงได้ ความยาวของช่องขนาดใหญ่นี้ก็เป็นตัวกำหนดความถี่ของคลื่นเสียงนั่นเอง

นกหวีดมี 2 แบบ  คือ แบบทั่วไป ตัวป้อมกลม และ แบบท่อยาว

ทั้ง 2 แบบ มีลักษณะคล้ายขลุ่ย คือมีท่อให้ลมไปกระแทกลิ้น (หรือปากนกแก้วของขลุ่ย) ลมจะถูกแยกเป็น 2 ส่วน ส่วนหนึ่งออกไปข้างนอก อีกส่วนเข้าไปข้างใน เป็นเหตุุให้เกิดคลื่นเสียงตามคำอธิบายด้านบน
  • แบบทั่วไป  เป็นท่อปลายปิด ปริมาตรอากาศในส่วนกลมป้อม จะ resonance ให้เสียงที่มีความถี่ค่าหนึ่ง นอกจากนั้นมีลูกกลมเบา ๆ กลิ้งไปมาเวลาเป่า ให้ความถี่เปลี่ยนอีกนิดหน่อย ปิ๊ด ปี้ ปิ๊ด
  • แบบท่อยาว เป็นท่อปลายเปิด ปริมาตรอากาศในท่อ (ขึ้นกับความยาวท่อ) จะ resonance ให้เสียงที่มีความถี่ค่าหนึ่ง มีทั้งแบบมีเสียง และแบบไร้เสียงที่เป็น  นกหวีดเรียกสุนัข โดยเกิดเสียงความถี่สูงที่คนไม่ได้ยิน แต่สุนัขได้ยิน
นกหวีดทำจากพลาสติกกับทำจากเหล็ก เสียงไม่ต่างกันมาก ยกเว้นนกหวีดเหล็กมีเสียง harmonic สูง มากกว่านิดหน่อย

ขอบคุณข้อมูลจาก  น้องTanname และ พี่ฟลินท์ จาก วิชาการ.คอม

จะหาเพิ่มเติมจาก วิกิพีเดีย ก็ได้นะ  search เพิ่มเติมก็มีเยอะ

ไม่มีความคิดเห็น:

สถิติผู้เยี่ยมชมทั้งหมด

Flag Counter

ขอบคุณ ผู้ชมเดือนนี้