ใช่ว่าเราจะเพิ่งมานิยม "พับดอกบัว" หรือ จัดแต่งดอกบัว กันในช่วงกรุงรัตนโกสินทร์นะ วิถีชีวิตคนไทยกับดอกบัวผูกพันกันมาตั้งแต่สมัยสุโขทัยแล้ว
ที่รู้จักกันดีก็คงจะเป็นเรื่องเกี่ยวกับ ท้าวศรีจุฬาลักษณ์ หรือ นางนพมาศ ในสมัยพระร่วงเจ้า ซึ่งมีการจัดแต่งดอกไม้ ใบตอง และแน่นอนว่าคนไทยต้องรู้จักคือ "กระทง" ที่เป็นดอกบัว
ที่รู้จักกันดีก็คงจะเป็นเรื่องเกี่ยวกับ ท้าวศรีจุฬาลักษณ์ หรือ นางนพมาศ ในสมัยพระร่วงเจ้า ซึ่งมีการจัดแต่งดอกไม้ ใบตอง และแน่นอนว่าคนไทยต้องรู้จักคือ "กระทง" ที่เป็นดอกบัว
สมัยอยุธยา ถึงจะมีสงครามบ้าง แต่ก็ไม่เคยละทิ้งประเพณี โดยเฉพาะเทศน์มหาชาติหลังออกพรรษา ก็จะใช้ดอกบัวเป็นเครื่องบูชากัณฑ์เทศน์ และประดับศาลาธรรมด้วยดอกบัว 5 สีที่ประกอบไปด้วย สัตตบุษย์ขาว สัตตบรรณแดง สัตตบงกชชมพู และบัวเผื่อนม่วงแดง
หรือ ในพิธีสะเดาะเคราะห์ ก็จะใช้ดอกบัวขาว บัวแดง บัวขาบ(สีน้ำเงิน) บัวชมพู สีละ 25 ดอก สืบมาจนถึงในรัชกาลที่ 1 ถือว่าดอกบัวเป็นดอกไม้ศักดิ์สิทธิ์
พอมายุครัตนโกสินทร์ที่อยู่เย็นเป็นสุข พระมหากษัตริย์ทุกพระองค์ทรงโปรดเกล้าให้มีการทำนุบำรุงพระศาสนา มีพระราชพิธีประเพณีพิธีการมากมาย ดอกบัวก็มีบทบาทไม่ว่างเว้น เช่น พระราชพิธีสะเดาะพระเคราะห์ ประเพณีเทศน์มหาชาติ พระราชธิดาเสด็จเก็บบัวประจำปี การถวายบัวของเจ้าเมือง
ที่เด่น ๆ และยังคงประเพณีไว้ต่อเนื่องถึงเดี๋ยวนี้ ก็เช่น การใส่บาตรด้วยดอกบัว ประเพณีรับบัวโยนบัว
ปัจจุบันดอกบัว ไม่เพียงแต่นิยมนำไปใช้ในกิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับทางศาสนาแล้ว แต่ยังนำไปตกแต่งตามร้านอาหาร โรงแรม รีสอร์ต สปา งานตกแต่งสถานที่ต่างๆ อีกเยอะแยะ ด้วยลักษณะเฉพาะของดอกบัวที่สวยงามในตัวเอง แล้วยังสามารถนำมาพับดัดแปลงเป็นแบบต่างๆ นอกจากจะได้อวดฝีมือและภูมิปัญญาที่แฝงปรัชญาทางพุทธศาสนาแล้ว จะใช้จัดแต่งร่วมกับดอกไม้อื่นๆ ก็สวยไม่แพ้ดอกไม้เมืองนอกทีเดียว
เอาล่ะ เรามาทำความรู้จักดอกบัวที่เราเห็น ๆ กันเป็นประจำดีกว่า อย่างบัวที่เราเห็นขายกันเป็นกำๆ ในตลาด มักจะเป็นดอกบัวสองชนิดนี้
1. บัวสัตตบงกช หรือที่แม่ค้าเรียกกันว่า บัวฉัตร ก็เป็นบัวที่เราเห็นขายกันทั่วไป
มีทั้งสีขาว สีชมพู
2. บัวหลวง ก็จะมีลักษณะคล้ายกัน แต่ลักษณะดอกจะเรียวยาวมากกว่า บัวฉัตร ดอกบัวหลวงสีขาว เรียกว่า บุณฑริก ส่วนสีชมพูเรียกว่า โกมุท ลักษณะพิเศษที่แตกต่างกันนอกจากลักษณะดอกเรียวยาวแล้ว กลีบนอกจะเล็กกว่ากลีบชั้นใน จำนวนกลีบดอกน้อยกว่าไปก่อน
จริง ๆ ถ้าจะพูดให้ครบ "บัว" ยังมีประโยชน์และสิ่งที่น่ากล่าวถึงอีกเยอะ เช่น เอามาทำอาหาร ทำยา ฯลฯ เอาสนใจก็ไปค้นคว้าเพิ่มเติมละกันนะ แต่จะเล่าเรื่อง ความเชื่อของคนจีนเกี่ยวกับบัว ไว้นิดหน่อย เช่น
- คนจีนนิยมกินบัวกันมาก เพราะเชื่อว่าบัวเป็นสัญลักษณ์ของความบริสุทธิ์ เพราะดอกบัวเกี่ยวข้องกับพระพุทธเจ้า พระพุทธเจ้าเปรียบดอกบัวเหนือน้ำเป็นความบริสุทธิ์ เป็นปัญญาที่สามารถถีบตัวหนีโคลนตมใต้ดินขึ้นมาได้
- บัวเป็นสัญลักษณ์ของความสามารถในการเจริญพันธุ์ออกลูกออกหลาน เป็นสัญลักษณ์ความงามแท้ของแม่หญิง
- ในพิธีวิวาห์ของคนจีน ให้คู่บ่าวสาวกินรากบัวเพราะรากบัวเมื่อถูกหักยังเหลือใย ไม่ขาดจากกันง่าย ๆ เหมือนสำนวนไทยว่า “ตัดบัวยังเหลือใย” บัวยังเป็นอาหารที่เก่าแก่ คนจีนยังถือว่ารากบัวเป็นยาชนิดหนึ่งด้วย
แหล่งข้อมูล :
http://www.moohin.com
http://www.oknation.net/blog/Rosefinchy
http://www.niyomthai.or.th
คำหลักเพื่อค้นคว้าเพิ่ม : เกสรบัว, เกสร บำรุงหัวใจ, แกงส้มรากบัว, ไหลบัว, ใบบัว รองผมนาค
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น