1.8.54

ไอเดียใช้ "ยางกล้วย" พิมพ์ลายผ้า

 ยางกล้วย ที่มีคุณสมบัติติดผ้าแน่นหนึบ จนใครต่อใครรังเกียจว่าซักออกยาก แต่เหมือน ดาบสองคม ที่เราสามารถนำมาใช้ประโยชน์ ตกแต่งผ้า เป็น สีเพ้นท์ผ้า จากธรรมชาติได้อย่างสวยงาม แถมยังมีคนหัวคิดดี ดัดแปลงทำ บาติกผสมผสานยางกล้วย สร้างรายได้เสริมอย่างสร้างสรรค์


"หมวกสวยด้วยยางกล้วย" ฝีมือ คุณคำหล้า จากเว็บพันทิพ

เป็นการใช้ประโยชน์จากวัสดุจากธรรมชาติ  หยิบเอาคุณลักษณะที่คนมักเห็นว่าเป็นข้อเสียมาใช้ประโยชน์ซะ..เพราะปกติแล้ว ยางกล้วย จะเป็นที่รังเกียจนักหนา เนื่องจากถูกเสื้อผ้าแล้วจะติดแน่นชักไม่ออก แต่ถ้าสังเกตดูจะเห็นว่า  
  • ถ้าติดช้ำ ๆ ที่เดียวกันจะเป็นสีนำตาลเข้ม 
  • ถ้าชักบ่อยครั้ง สีน้ำตาลจะสดใสมากยิ่งขึ้น 
  • สีของยางกล้วยเกือบทุกชนิดเมื่อได้มาจากต้นใหม่ๆ จะลักษณะเป็นสี "ขาวขุ่น" 
  • ถ้าตั้งทิ้งไว้นาน ๆ สีของยางกล้วยจะเริ่มเปลี่ยนเป็นสีน้ำตาลแดงจาง ๆ
จากคุณสมบัติของยางกล้วยเหล่านี้ คนคิดต่างมุมจึงมองว่าเป็นจุดเด่นที่สามารถนำมาสร้างเป็นงานศิลปะที่งดงามจากวัสดุธรรมชาตินั่นคือ "ศิลปะลายผ้าจากยางกล้วย"

วิธีเก็บยางกล้วย
  • อุปกรณ์ มีด ถุงพลาสติก ขวด หนังยางหรือเชือก
  • เวลาเก็บยางกล้วย ควรเป็นเวลาหลังเที่ยงวันเป็นต้นไป เพราะจะได้น้ำยางมากและน้ำยางจะมีคุณภาพดี
  • ส่วนต่าง ๆ ของต้นกล้วยที่ได้เก็บน้ำยาง
  1.  จากก้านหัวปลีกล้วย
  2.  จากก้านกล้วย
  3.  จากลำต้น
  4.  จากก้านเครือกล้วย
  • จาก 4 ส่วนของต้นกล้วยดังกล่าว ใช้มีดตัดและนำถุงพลาสติกขนาดพอเหมาะสวมแล้วมัดให้แน่น ระวังอย่าให้น้ำและอากาศเข้า จะทำให้น้ำยางไม่เข้มข้นและเสื่อมคุณภาพ ทิ้งไว้ 2-3 ชั่วโมงแล้วเก็บรวบรวมใส่ในขวดปิดฝาให้แน่น
  • สำหรับลำต้น ควรเป็นต้นแก่ตัดเครือแล้วสมารถเก็บยางได้ทุกส่วนตั้งแต่ยอดถึงโคน แต่ยางที่มีคุณภาพดี คือ ส่วนที่ได้จากก้านหัวปลีและก้านเครือกล้วย จะมีน้ำยางข้นสุด  และให้สีดีกว่าส่วนอื่น ๆ  ส่วนลำต้น ก้าน กาบ น้ำยางจะใสจะให้สีอ่อนกว่า  
  • การนำเอาใบกาบก้านมาบดคั้นเพื่อเอาน้ำยางมาเพ้นท์  จะได้น้ำยางผสมน้ำไม่ดี  ต้องได้ยางกล้วย จากการหยดเองจะดีมาก ๆ
วิธีการเก็บรักษายางกล้วย


 "ยางกล้วย" ถึงแม้ว่าจะติดแน่นและให้สีน้ำตาล แต่ถ้าทิ้งไว้ให้โดนอากาศจะเสียง่าย ดังนั้นเมื่อเก็บยางกล้วยได้แล้วจะต้องใส่ในขวดหรือถุงพลาสติก แล้วปิด-ผูกให้แน่นไม่ให้อากาศเข้า จะสามารถเก็บไว้ในตู้เย็นจะสามารถเก็บไว้ได้นานหลายเดือน

ผ้าที่เหมาะกับการเพนท์ด้วยยางกล้วย

สามารถใช้ได้เกือบทุกชนิด เช่น ผ้าไหม เสื้อยืด เสื้อเชิ้ต ฯลฯ แต่ผ้าที่เหมาะสำหรับเพ้นท์ด้วยยางกล้วยที่สุด คือ ผ้ามัสลิน ส่วนผ้าดิบไม่เหมาะสำหรับนำมาเพ้นท์ด้วยยางกล้วย เพราะจะให้สีขรุขระ ไม่เรียบ  ผ้าที่ลงแป้งก็ควรซักซะก่อนนำมาเพนท์

อุปกรณ์ที่ใช้สำหรับระบายยางกล้วยบนผ้า

  • พู่กัน (เบอร์เล็ก – ใหญ่) ดินสอ กระดาษ หรืออาจจะใช้ก้านกล้วย แทนพู่กันและทำลวดลาย จริง ๆ แล้วก็สุดแต่จะคิดสร้างสรรค์ เอาผัก ผลไม้ มาแทนตัวปั๊มลายก็ได้
  • ลวดลายถ้าอยากแสดงฝีมือก็วาดเองตามชอบ ใส่ซะให้เต็มที่ แต่ถ้าไม่ถนัด ก็หาเอาจากหนังสือ หรือ การ์ตูน ที่ชื่นชอบก็ได้ ลอกลายเอาละกัน 

วิธีการวาดางกล้วยลงบนผ้า

ก็เหมือนการระบายสีทั่วไป
  1. เลือก ผ้า เสื้อ กระโปรง ฯลฯ ที่ต้องการ
  2. วาดหรือลอกลายที่เลือกลงบนผ้า ตรงตำแหน่งที่ต้องการ ถ้าผ้าบางไม่ต้องใช้กระดาษก็ได้ สามารถใช้ผ้าวางทับบนลายแล้วใช้ดินสอลากเบา ๆ ตามลายที่เลือกไว้ได้เลย
  3. ใช้พู่กัน หรือ อุปกรณ์แทนพู่กันที่เตรียมไว้จุ่มยางกล้วย แล้ววาดลงตามแบบ 1 ครั้งก่อน พอยางหมาดลง ทับอีก 2-3 ครั้งทิ้งไว้ให้แห้งก็จะได้ภาพบนลายผ้าเป็นสีน้ำตาล 
  4. แต่งเติมตามใจชอบ ถ้าต้องการเน้นส่วนไหน ให้มีความเข้มเพิ่มมากขึ้นก็วาดทับลงไปอีกหลาย ๆ ครั้ง เราก็จะได้สีน้ำตาลอ่อน – เข้ม ที่แตกต่างกัน

ข้อควรระวัง

  1. อย่าให้ยางกล้วยมีเศษผงหรือข้นเกินไป
  2. การวาดหรือระบาย ไม่ควรจุ่มยางมากนัก เพราะจะทำให้น้ำยางซึมแผ่ขยายลงในเนื้อผ้ากว้างเกินไป และจะได้ลายไม่สวยงาม
  3. ผ้าที่ระบายแล้วต้องทิ้งไว้ให้แห้งสนิท ก่อนนำไปชักด้วยมือหรือเครื่องโดยใช้ผงชักฟอกชนิดใดก็ได้
เคล็ดลับ ขจัดคราบ "ยางกล้วย"
 
ถึงจะใช้ประโยชน์จากคุณสมบัติ ติดแน่น ของ "ยางกล้วย" 
แต่ต้องบอกไว้เผื่อ ยางกล้วย ไปติดส่วนที่ไม่ต้องการจนเป็นคราบดำ 
 ใช้มะนาวฝานเป็นชิ้นบางๆ ถูที่รอยยางกล้วย 
คราบยางกล้วย จะหลุดออกอย่างง่ายดาย
หรือ
**  เอาเสื้อตัวนั้น...ไปเพนท์ หรือ ทำ "ผ้าบาติกยางกล้วย" ซะเลยสิ ***

 ดูไอเดียดี ๆ ของคุณครู "วิชัย ยิ่งสวัสดิ์" และ "วันดี ยิ่งสวัสดิ์"  
สอนเด็กเสริมรายได้จาก "ผ้าบาติกยางกล้วย"
ที่ โรงเรียนวัดวรภูมิ สมุทรสงคราม

ขอบคุณ - credit : 

"คำหล้า"   http://www.bloggang.com/ 
วรรณี เรืองโสภณ   http://tessaban3.ac.th
สมพจน์ จันทร์เที่ยง ลักษณา โล่ห์พิทักษ์สันติ   http://www.phuketdata.net
http://school.obec.go.th/elp/wit_online/charp_1.html


นำรูป-เนื้อหา ไปใช้/เผยแพร่ กรุณา credit:  บล็อก "ห้องเล่น ห้องเรียน"

ไม่มีความคิดเห็น:

สถิติผู้เยี่ยมชมทั้งหมด

Flag Counter

ขอบคุณ ผู้ชมเดือนนี้