จากตอนที่ทำ "ดอกคาร์เนชั่น" จากถาดพลาสติกใส่ไข่ เราได้พูดถึง "ดอกคาร์เนชั่น" ว่าเป็นดอกไม้ประจำวันแม่ของอเมริกา แต่รู้มั้ย..เค้าแยกออกเป็นสองสี สองความหมายนะ
ความหมายของคำว่า "แม่"
พจนานุกรมฉบับบัณฑิตยสถาน พ.ศ.๒๕๒๕ ได้ให้ความหมายของคำว่า “แม่” ไว้ดังนี้
"แม่ "หมายถึง หญิงในฐานะที่เป็นผู้ให้กำเนิดแก่ลูก, คำที่ลูกเรียกหญิงผู้ให้กำเนิดตน
"วันแม่" ในประวัติศาสตร์
นักประวัติศาสตร์ บางคนเชื่อว่า วันแม่กำเนิดขึ้นตั้งแต่บรรพกาล เพื่อเป็นการเฉลิมฉลองเทศกาลฤดูใบไม้ผลิ ซึ่งหมายถึง เทพมารดา(แม่ของเหล่าเทพเจ้าทั้งหลาย) ส่วนในอาณาจักรกรีกโบราณจะ หมายถึงเทพรี(Rhea) ภรรยาของเทพสูงสุดโครนัส และเป็นแม่ของเหล่าเทพชายและเทพหญิงทั้งหลาย ขณะที่ในโรมันเทศกาลคล้ายกันนี้ จัดขึ้นเพื่อสักการะเทพไซเบล(Cybele) ซึ่งเกิดขึ้นก่อนคริสตกาลประมาณ 250 ปี ในโดยกำหนดไว้ระหว่างวันที่ 15 ถึง 18 มีนาคม
ต่อมา ราวคริสตศวรรษที่ 17 ประเทศอังกฤษเริ่มฉลองวันแม่ในรูปแบบใหม่ โดยเรียกว่า วันอาทิตย์แห่งแม่(Mothering Sunday) ซึ่งอยู่ในวันอาทิตย์ที่ 4 ของช่วงกลางฤดูถือบวช(กินระยะประมาณ 8 สัปดาห์และสิ้นสุดที่เทศกาลอีสเตอร์) โดยเปลี่ยนจากการสักการะเทพไซเบลมาเป็น การบูชามารดาแห่งโบสถ์(Mother Church) หรือพระแม่มารี(แม่ของพระเยซูคริสต์)แทน เพราะว่าเมื่อคริสตศาสนิกชนไป ล้างบาปจะนึกถึงมารดาแห่งโบสถ์เป็นสำคัญ
"วันแม่" ในอเมริกาและสากล
แอนนา เอ็ม. จาร์วิส คุณครูแห่งรัฐฟิลาเดลเฟีย ชาวอเมริกัน เป็นผู้ผลักดันให้มี "วันแม่" อย่างเป็นทางการขึ้น เธอเป็นผู้รับใช้ทางศาสนาโดย อุทิศตนเป็นครูสอนในโรงเรียนวันอาทิตย์กว่า 20 ปี ในเวอร์จีเนีย ตะวันตก และได้ย้ายไปฟิลาเดเฟีย เพนซิลเวเนีย จนกระทั่งเสีย ชีวิตใน ค.ศ. 1950
ทั้งๆ ที่ตัวแอนนาเองไม่มีการโอกาสเป็นแม่คน (ครองโสดตลอดชีวิต เพื่อดูแลน้องสาวตาบอด)
แต่ ด้วยความคิดถึงแม่อย่างมาก หลังจากการจากไปประมาณ 2 ปี มีสแอนนา พร้อมเพื่อนๆ ได้ร่วมกันร่างจดหมายรณรงค์ ขอการสนับสนุนจากข้าราชการ นักธุรกิจ และนักการเมืองต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง ในการกำหนดให้มีวันหยุดเป็นวันแม่แห่งชาติขึ้นมา เพราะเธอรู้สึกว่าบุตรหลานต่าง ปล่อยปะละเลยแม่ และไม่เอาใจใส่ในขณะที่ยังมีชีวิตอยู่เท่าที่ควร โดยหวังว่า "วันแม่" จะเป็นวันที่เพิ่มความเคารพต่อบุพการีและสร้างความแข็งแกร่งแก่สถาบันครอบครัว
แต่กว่าเธอจะประสบความสำเร็จก็ครบ 2 ปีพอดี ในปี ค.ศ.1914 (พ.ศ. 2457) โดยประธานาธิบดี วูดโรว์ วิลสัน ได้มีคำสั่งให้ถือวันอาทิตย์ที่ 2 ของเดือนพฤษภาคมเป็นวันแม่แห่งชาติ
โดยมี ดอกคาร์เนชั่นสีขาว เป็นสัญลักษณ์แทนความรู้สึกถึงความรักที่มีต่อแม่ เพราะเป็นดอกไม้ที่มีสซีสแอนนาชอบที่สุด อีกทั้งยังแสดงถึงความอ่อนหวาน บริสุทธิ์ และเป็นอมตะอยู่เสมอ
ซึ่งจะแบ่งออกเป็น 2 แบบ คือ
แม้มีสแอนนาจะบรรลุจุดประสงค์แล้ว แต่มันก็ได้สร้างรอยร้าวให้แก่เธอ เมื่อเธอถูกจับกุมในข้อหาก่อกวนความสงบ เพราะใช้ อำนาจทางกฏหมายเข้ายับยั้งเทศกาลเฉลิมฉลองวันแม่ในปี คศ.1923 เพื่อหยุดยั้งการขายดอกคาร์เนชั่นในวันแม่ เพราะมัน ไม่ใช่ความตั้งใจของเธอ ที่จะให้มีการค้าขายทำกำไรในวันนี้ขึ้น แม้มีสแอนนาจะสิ้นใจด้วยวัน 84 ปีในคศ.1948 ไปแล้ว แต่ผู้คนก็ยังไม่วายเหน็บแนมต่อการขวางลำของเธอรวมทั้งการ ที่เธอไม่เคยเป็นแม่
และก่อนเสียชีวิตเธอได้ระบายให้พยาบาลฟังว่า เธอเสียใจที่ก่อให้เกิดวันแม่ขึ้น แม้มีสแอนนาจะจากไปแบบตา ไม่หลับ แต่ทุกปีก็จะมีคนส่งการ์ดอวยพร มาจากทั่วโลกไปยังห้องพักของเธอ ทุกวันนี้ทั่วโลกต่างมีวันแม่แห่งชาติ โดยเดนมาร์ก, ฟินแลนด์, อิตาลี, ตุรกี, ออสเตรเลีย และเบลเยียม กำหนดวันแม่ วันเดียวกันกับอเมริกา
"วันแม่" ในประเทศไทยเมื่อเริ่มแรก
ส่วนประเทศไทยเรานั้น คงทราบกันดีอยู่แล้วว่าเรากำหนดเนื่องในโอกาสวันคล้าย วันพระราชสมภพในสมเด็จพระนางเจ้าพระบรมราชินีนาถ ซึ่งเปรียบเหมือนแม่ของชาวไทยทั้งชาติ
แต่ในการจัดงาน"วันแม่" นั้นมีขึ้นเป็นครั้งแรก เมื่อวันที่ 10 มีนาคม พ.ศ. 2486 ณ.สวนอัมพร โดยมีกระทรวงสาธารณสุขเป็นผู้จัดงาน แต่เนื่องจากช่วงนั้นเป็นช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 งานวันแม่ในปีต่อมาจึงต้องงดไปโดยปริยาย
หลังจากผ่านพ้นวิกฤติสงครามไปแล้ว หลายหน่วยงานได้พยายามรื้อฟื้นให้มีวันแม่ขึ้นมาอีก แต่ก็ไม่ประสบผลสำเร็จเท่าที่ควร และมีการเปลี่ยนกำหนดวันแม่ไปหลายครั้ง แต่กำหนดวันแม่ที่ประชาชนนิยม และเป็นที่รับรองของรัฐบาล คือวันที่ 15 เมษายน โดยเริ่มจัดมาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2493
กำหนดงานวันแม่ในวันนี้ยังดำเนินต่อมาอีกหลายปี ก็ต้องมาหยุดชะงักลงอีก ด้วยเหตุผลที่ว่าสภาวัฒนธรรมแห่งชาติผู้จัดงานวันแม่ขาดผู้สนับสนุนซึ่งก็ คือกระทรวงวัฒนธรรมที่ถูกยุบไปนั่นเอง ต่อมาสมาคมครูคาทอลิกแห่งประเทศไทยเห็นว่าควรมีการจัดงานวันแม่ต่อไป จึงได้รื้อฟื้นงานวันแม่ขึ้นมาอีก และได้กำหนดให้จัดงานวันแม่ คือวันที่ 4 ตุลาคม พ.ศ. 2515 แต่จัดได้เพียงปีเดียวก็เลิกไป
"วันแม่" 12 สิงหาคม
จนกระทั่งในปี พ.ศ. 2519 คณะกรรมการอำนวยการสภาสังคมสงเคราะห์แห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์เห็นว่าควรกำหนดวันแม่ให้แน่นอนเสียที จึงได้กำหนดวันแม่ใหม่โดยให้ถือว่า วันเสด็จพระราชสมภพของสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ วันที่ 12 สิงหาคม เป็นวันแม่แห่งชาติ และ กำหนดให้ "ดอกมะลิ" เป็นดอกไม้สัญลักษณ์ของวันแม่ตั้งแต่นั้นมา เหตุผลที่ให้ดอกมะลิ เป็นดอกไม้สัญลักษณ์ของวันแม่ ก็เนื่องจาก ดอกมะลิเป็นดอกไม้ที่มีสีขาวบริสุทธิ์ ส่งกลิ่นหอมไปไกลและหอมได้นาน อีกทั้งยังออกดอกได้ตลอดทั้งปี เปรียบได้กับความรักอันบริสุทธิ์ของแม่ที่มีต่อลูกไม่มีวันเสื่อมคลาย...
แหล่งข้อมูล :
www.ichumphae.com
http://course.eau.ac.th
www.familynetwork.or.th
ความหมายของคำว่า "แม่"
พจนานุกรมฉบับบัณฑิตยสถาน พ.ศ.๒๕๒๕ ได้ให้ความหมายของคำว่า “แม่” ไว้ดังนี้
"แม่ "หมายถึง หญิงในฐานะที่เป็นผู้ให้กำเนิดแก่ลูก, คำที่ลูกเรียกหญิงผู้ให้กำเนิดตน
"วันแม่" ในประวัติศาสตร์
นักประวัติศาสตร์ บางคนเชื่อว่า วันแม่กำเนิดขึ้นตั้งแต่บรรพกาล เพื่อเป็นการเฉลิมฉลองเทศกาลฤดูใบไม้ผลิ ซึ่งหมายถึง เทพมารดา(แม่ของเหล่าเทพเจ้าทั้งหลาย) ส่วนในอาณาจักรกรีกโบราณจะ หมายถึงเทพรี(Rhea) ภรรยาของเทพสูงสุดโครนัส และเป็นแม่ของเหล่าเทพชายและเทพหญิงทั้งหลาย ขณะที่ในโรมันเทศกาลคล้ายกันนี้ จัดขึ้นเพื่อสักการะเทพไซเบล(Cybele) ซึ่งเกิดขึ้นก่อนคริสตกาลประมาณ 250 ปี ในโดยกำหนดไว้ระหว่างวันที่ 15 ถึง 18 มีนาคม
ต่อมา ราวคริสตศวรรษที่ 17 ประเทศอังกฤษเริ่มฉลองวันแม่ในรูปแบบใหม่ โดยเรียกว่า วันอาทิตย์แห่งแม่(Mothering Sunday) ซึ่งอยู่ในวันอาทิตย์ที่ 4 ของช่วงกลางฤดูถือบวช(กินระยะประมาณ 8 สัปดาห์และสิ้นสุดที่เทศกาลอีสเตอร์) โดยเปลี่ยนจากการสักการะเทพไซเบลมาเป็น การบูชามารดาแห่งโบสถ์(Mother Church) หรือพระแม่มารี(แม่ของพระเยซูคริสต์)แทน เพราะว่าเมื่อคริสตศาสนิกชนไป ล้างบาปจะนึกถึงมารดาแห่งโบสถ์เป็นสำคัญ
"วันแม่" ในอเมริกาและสากล
แอนนา เอ็ม. จาร์วิส คุณครูแห่งรัฐฟิลาเดลเฟีย ชาวอเมริกัน เป็นผู้ผลักดันให้มี "วันแม่" อย่างเป็นทางการขึ้น เธอเป็นผู้รับใช้ทางศาสนาโดย อุทิศตนเป็นครูสอนในโรงเรียนวันอาทิตย์กว่า 20 ปี ในเวอร์จีเนีย ตะวันตก และได้ย้ายไปฟิลาเดเฟีย เพนซิลเวเนีย จนกระทั่งเสีย ชีวิตใน ค.ศ. 1950
ทั้งๆ ที่ตัวแอนนาเองไม่มีการโอกาสเป็นแม่คน (ครองโสดตลอดชีวิต เพื่อดูแลน้องสาวตาบอด)
แต่ ด้วยความคิดถึงแม่อย่างมาก หลังจากการจากไปประมาณ 2 ปี มีสแอนนา พร้อมเพื่อนๆ ได้ร่วมกันร่างจดหมายรณรงค์ ขอการสนับสนุนจากข้าราชการ นักธุรกิจ และนักการเมืองต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง ในการกำหนดให้มีวันหยุดเป็นวันแม่แห่งชาติขึ้นมา เพราะเธอรู้สึกว่าบุตรหลานต่าง ปล่อยปะละเลยแม่ และไม่เอาใจใส่ในขณะที่ยังมีชีวิตอยู่เท่าที่ควร โดยหวังว่า "วันแม่" จะเป็นวันที่เพิ่มความเคารพต่อบุพการีและสร้างความแข็งแกร่งแก่สถาบันครอบครัว
แต่กว่าเธอจะประสบความสำเร็จก็ครบ 2 ปีพอดี ในปี ค.ศ.1914 (พ.ศ. 2457) โดยประธานาธิบดี วูดโรว์ วิลสัน ได้มีคำสั่งให้ถือวันอาทิตย์ที่ 2 ของเดือนพฤษภาคมเป็นวันแม่แห่งชาติ
โดยมี ดอกคาร์เนชั่นสีขาว เป็นสัญลักษณ์แทนความรู้สึกถึงความรักที่มีต่อแม่ เพราะเป็นดอกไม้ที่มีสซีสแอนนาชอบที่สุด อีกทั้งยังแสดงถึงความอ่อนหวาน บริสุทธิ์ และเป็นอมตะอยู่เสมอ
ซึ่งจะแบ่งออกเป็น 2 แบบ คือ
- ถ้าแม่ยังมีชีวิตอยู่ ให้ประดับตกแต่งบ้านหรือประตูด้วย ดอกคาร์เนชั่น สีชมพู
- แต่ถ้าแม่ถึงแก่กรรมไปแล้ว ให้ประดับด้วย ดอกคาร์เนชั่น สีขาว
แม้มีสแอนนาจะบรรลุจุดประสงค์แล้ว แต่มันก็ได้สร้างรอยร้าวให้แก่เธอ เมื่อเธอถูกจับกุมในข้อหาก่อกวนความสงบ เพราะใช้ อำนาจทางกฏหมายเข้ายับยั้งเทศกาลเฉลิมฉลองวันแม่ในปี คศ.1923 เพื่อหยุดยั้งการขายดอกคาร์เนชั่นในวันแม่ เพราะมัน ไม่ใช่ความตั้งใจของเธอ ที่จะให้มีการค้าขายทำกำไรในวันนี้ขึ้น แม้มีสแอนนาจะสิ้นใจด้วยวัน 84 ปีในคศ.1948 ไปแล้ว แต่ผู้คนก็ยังไม่วายเหน็บแนมต่อการขวางลำของเธอรวมทั้งการ ที่เธอไม่เคยเป็นแม่
และก่อนเสียชีวิตเธอได้ระบายให้พยาบาลฟังว่า เธอเสียใจที่ก่อให้เกิดวันแม่ขึ้น แม้มีสแอนนาจะจากไปแบบตา ไม่หลับ แต่ทุกปีก็จะมีคนส่งการ์ดอวยพร มาจากทั่วโลกไปยังห้องพักของเธอ ทุกวันนี้ทั่วโลกต่างมีวันแม่แห่งชาติ โดยเดนมาร์ก, ฟินแลนด์, อิตาลี, ตุรกี, ออสเตรเลีย และเบลเยียม กำหนดวันแม่ วันเดียวกันกับอเมริกา
"วันแม่" ในประเทศไทยเมื่อเริ่มแรก
ส่วนประเทศไทยเรานั้น คงทราบกันดีอยู่แล้วว่าเรากำหนดเนื่องในโอกาสวันคล้าย วันพระราชสมภพในสมเด็จพระนางเจ้าพระบรมราชินีนาถ ซึ่งเปรียบเหมือนแม่ของชาวไทยทั้งชาติ
แต่ในการจัดงาน"วันแม่" นั้นมีขึ้นเป็นครั้งแรก เมื่อวันที่ 10 มีนาคม พ.ศ. 2486 ณ.สวนอัมพร โดยมีกระทรวงสาธารณสุขเป็นผู้จัดงาน แต่เนื่องจากช่วงนั้นเป็นช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 งานวันแม่ในปีต่อมาจึงต้องงดไปโดยปริยาย
หลังจากผ่านพ้นวิกฤติสงครามไปแล้ว หลายหน่วยงานได้พยายามรื้อฟื้นให้มีวันแม่ขึ้นมาอีก แต่ก็ไม่ประสบผลสำเร็จเท่าที่ควร และมีการเปลี่ยนกำหนดวันแม่ไปหลายครั้ง แต่กำหนดวันแม่ที่ประชาชนนิยม และเป็นที่รับรองของรัฐบาล คือวันที่ 15 เมษายน โดยเริ่มจัดมาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2493
กำหนดงานวันแม่ในวันนี้ยังดำเนินต่อมาอีกหลายปี ก็ต้องมาหยุดชะงักลงอีก ด้วยเหตุผลที่ว่าสภาวัฒนธรรมแห่งชาติผู้จัดงานวันแม่ขาดผู้สนับสนุนซึ่งก็ คือกระทรวงวัฒนธรรมที่ถูกยุบไปนั่นเอง ต่อมาสมาคมครูคาทอลิกแห่งประเทศไทยเห็นว่าควรมีการจัดงานวันแม่ต่อไป จึงได้รื้อฟื้นงานวันแม่ขึ้นมาอีก และได้กำหนดให้จัดงานวันแม่ คือวันที่ 4 ตุลาคม พ.ศ. 2515 แต่จัดได้เพียงปีเดียวก็เลิกไป
"วันแม่" 12 สิงหาคม
จนกระทั่งในปี พ.ศ. 2519 คณะกรรมการอำนวยการสภาสังคมสงเคราะห์แห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์เห็นว่าควรกำหนดวันแม่ให้แน่นอนเสียที จึงได้กำหนดวันแม่ใหม่โดยให้ถือว่า วันเสด็จพระราชสมภพของสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ วันที่ 12 สิงหาคม เป็นวันแม่แห่งชาติ และ กำหนดให้ "ดอกมะลิ" เป็นดอกไม้สัญลักษณ์ของวันแม่ตั้งแต่นั้นมา เหตุผลที่ให้ดอกมะลิ เป็นดอกไม้สัญลักษณ์ของวันแม่ ก็เนื่องจาก ดอกมะลิเป็นดอกไม้ที่มีสีขาวบริสุทธิ์ ส่งกลิ่นหอมไปไกลและหอมได้นาน อีกทั้งยังออกดอกได้ตลอดทั้งปี เปรียบได้กับความรักอันบริสุทธิ์ของแม่ที่มีต่อลูกไม่มีวันเสื่อมคลาย...
แหล่งข้อมูล :
www.ichumphae.com
http://course.eau.ac.th
www.familynetwork.or.th
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น