8.8.53

ความรู้เรื่องกล่องนม UHT และการรีไซเคิล

ในเมื่อเราได้ใช้ประโยชน์โดยการ นำกล่องนมมาทำเป็นกระเป๋า กันแล้ว  ก็น่าจะสนใจเรื่อง "กล่องนม" กันบ้างว่าเป็นไง นอกจากเอาไป Reuse (นำวัสดุกลับมาใช้ซ้ำ) ด้วยวิธีการต่าง ๆ แล้ว ยังจะนำมา Recycle (แปรรูปวัสดุเพื่อกลับมาใช้ประโยชน์ได้อีก) ยังไงกันบ้าง

กล่องนม UHT ที่หมดแล้ว นอกจากจะเอามาใส่ไอเดียทำสิ่งประดิษฐ์ต่าง ๆ เป็นการช่วยลดขยะแล้ว บางช่วงก็มีบริษัทต่าง ๆ รับบริจาคกล่องนม เพื่อนำไปรีไซเคิล หรือ ประดิษฐ์สิ่งของต่าง ๆ เพื่อหารายได้เข้าการกุศล

วันนี้เราจะทำความเข้าใจสิ่งสำคัญ 2 อย่าง ในเรื่องก่อน คือ
  1. Recycle รีไซเคิล คือกระบวนการนำขยะ หรือสิ่งของที่ไม่ใช้มา แปรสภาพ แล้วนำกลับมาใช้ประโยชน์ได้อีก  แต่ การ Reuse เป็นการนำมาใช้โดยไม่ต้องแปรสภาพ เช่น นำน้ำที่เหลือจากการซักผ้าไปรดต้นไม้ เอากระป๋องไปใส่ปากกา เป็นต้น
  2. กล่องแบบยูเอชที  ประกอบด้วยกระดาษ อะลูมิเนียมฟอยล์ และพลาสติก ซ้อนสลับกันถึง 6 ชั้น กล่องยูเอชทีเหล่านี้ สามารถเก็บรักษานมไม่ให้บูดเน่าเสียได้นานถึง 6 เดือน โดยไม่ต้องแช่ตู้เย็น
       ต่อไป กระบวนที่ต้องทำในระดับผู้ใช้  คือ เก็บพวกกล่องสำหรับบรรจุอาหาร เช่น กล่องนม กล่องน้ำผลไม้ ฯลฯ 
  • ล้าง ตัดปากกล่อง แล้วล้างน้ำให้สะอาด
  • แกะ มุมกล่องออกทั้ง 4 ด้าน
  • เก็บ โดยพับกล่องให้แบน เตรียมรีไซเคิล 
จากนั้น ผู้ที่นำไปรีไซเคิล เค้าก็จะนำกล่องนมที่สะอาดแล้วนี้ใส่ในถังขนาดใหญ่ ข้างในคล้ายเครื่องปั่นผ้า แล้วก็... ‘ปั่น ปั่น ปั่น’ จนกว่าเยื่อกระดาษจะแยกออกจากอะลูมิเนียมฟอยล์และพลาสติก

พอปั่นเสร็จแล้ว เยื่อกระดาษจะถูกดูดไปตามท่อแยกเก็บไว้อีกถัง แล้วนำมาอัด รีดน้ำออกได้เป็นแผ่นกระดาษ สีน้ำตาล ส่วนอะลูมิเนียมฟอยล์กับพลาสติกจะถูกอัดให้เป็นก้อนสี่เหลี่ยม แล้วจึงนำไปรีไซเคิลเป็นผลิตภัณฑ์ต่างๆ

สงสัยมั้ยล่ะ..ว่า  ทำไม เราต้องยุ่งยากเอากล่องพวกนี้มารีไซเคิลด้วย
ก็แต่ละปีมีกล่องเครื่องดื่มกว่า 3,000 ล้านใบ ถูกทิ้งเป็นขยะโดยไม่มีใครมองเห็นคุณค่า ทั้งที่ทุกส่วนของกล่องนมนำไปรีไซเคิลได้  ที่สำคัญคือ ช่วยให้เราลดการตัดต้นไม้เพื่อใช้ทำกระดาษได้อีกด้วย
 
นอกจากการรีไซเคิลแล้ว  วิธีที่ง่ายกว่า ทำได้ในระดับชาวบ้านอย่างเรา ก็เช่น ทำกระเป๋า สานปลา ทำหมวก ทำกล่องดินสอ  ฯลฯ หรือ ระดับบริษัทก็มีที่เค้าเอาไป ทำไม้เทียมสร้างโต๊ะ เก้าอี้ นำไปบริจาคให้เด็กๆ ในโรงเรียนทั่วประเทศ

เข้าใจแล้วใช่มั้ยล่ะ...เราเป็นส่วนสำคัญที่ช่วยเหลือสังคมและโลกได้ง่าย ๆ จากเรื่องใกล้ตัวแค่เนี้ยะเอง..

แหล่งข้อมูล : http://www.momypedia.com 
                        และ บริษัท ไฟเบอร์พัฒน์ จำกัด

ไม่มีความคิดเห็น:

สถิติผู้เยี่ยมชมทั้งหมด

Flag Counter

ขอบคุณ ผู้ชมเดือนนี้