17.8.53

เรื่องราวของ "ปลาตะเพียนสาน"

ไหน ๆ ก็ หัดทำ "ปลาตะเพียนสาน"  กันแล้ว  ก็น่าจะรู้ประวัติความเป็นมา และที่สำคัญ "ส่วนประกอบเครื่องแขวนปลาตะเพียนใบลาน" กันสักหน่อย  ถ้าสนใจเราจะได้ลงวิธีทำส่วนที่ทำไม่ยากเกินไป มาให้ลองทำกันอีกไง  สนใจปะ..
ปลาตะเพียนสานด้วยใบลาน เป็นงานหัตถกรรมพื้นบ้านที่ทำขึ้นในหมู่ชาวบ้านชาวไทยมุสลิมซึ่งมีถิ่นฐานอยู่ริมแม่น้ำเจ้าพระยา จังหวัดพระนครศรีอยุธยา สันนิษฐานกันว่า ปลาตะเพียนสานด้วยใบลานคงเริ่มทำกันที่นี่โดยชาวไทยมุสลิมรุ่นเก่า ซึ่งล่องเรือค้าขายเครื่องเทศอยู่ตามแม่น้ำเจ้าพระยา แล้วก็ทำสืบทอดต่อกันมาจนถึงปัจจุบัน เรียกว่าพอพูดถึง ปลาตะเพียนสาน ปุ๊ป  ก็นึกถึง อยุธยา ปั๊ปเลยใช่มะล่ะ

ผู้เฒ่าผู้แก่ เล่าต่อๆกันมาว่า แต่เดิม ชาวบ้านเรียกปลาตะเพียนสานด้วยใบลานว่า ปลาใบลานบ้าง ปลาโบราณบ้าง ต่อมาจึงค่อยเรียกชื่อเต็มตามวัสดุที่ใช้ทำว่า ปลาตะเพียนใบลาน แต่ก่อน ปลาตะเพียนใบลานสาน ก็มีขนาดแค่ 2– 3 นิ้ว ไม่มีสีสัน แล้วค่อยเิริ่มทาสี ด้วย วัสดุตามธรรมชาติ เรียกว่า รงค์ ผสมกับ น้ำมันวานิช แล้วนำไปเสียบไม้สำหรับห้อยแขวนเลย   ต่อมาก็ใช้ผงสีผสม แล้วนำใบลานย้อมสีมาสาน แต่สีที่ได้ไม่คงทน ไม่เงามัน สดใส เหมือนในปัจจุบันที่เขียนลวดลายด้วยสีน้ำมัน แล้วก็ไม่มีเครื่องประกอบมากมายเหมือนปัจจุบันด้วย

คนโบราณมักแขวน ปลาตะเพียนสาน ไว้เหนือเปลเด็ก โดยเชื่อว่าถ้าแขวนปลาตะเพียนไปทางหัวนอนมากจะทำให้เด็กมีนัยน์ตาช้อนขึ้น เพราะถูกแม่ซื้อมารบกวน ซึ่งจริง ๆ แล้วเราว่านะ เป็นอุบายเพื่อให้แขวนไว้ในตำแหน่งที่ถูกสุขลักษณะ คือ ให้แขวนให้พอดีกับระดับที่สายตาเด็กจะมองเห็นได้ตรงๆ ไม่ค่อนไปทางหัวหรือค่อนไปทางปลายเท้า ซึ่งอาจทำให้นัยน์ตาเด็กไม่ปกติ เพราะเด็กจะมองปลาตะเพียนแขวนนั้นนานๆ

การแขวนพวงปลาตะเพียนไว้เหนือเปลเด็กอ่อน ก็เพราะคนไทยถือว่าปลาตะเพียนเป็นสัญลักษณ์แห่งความอุดมสมบูรณ์  ก็อยากให้เด็กโตขึ้น มีฐานะมั่งคั่ง อุดมสมบูรณ์ ดุจปลาตะเพียนในฤดูข้าวตกรวง
บ้างก็เชื่อว่าเป็นเคล็ดที่จะทำให้ลูกหลานโตเร็วๆ และมีลูกหลานมากมายเหมือนปลาตะเพียนที่แขวนไว้ก็ได้ เพราะคนสมัยก่อนชอบที่จะมีลูกหลานวิ่งเล่นเต็มบ้าน จะได้ใช้แรงงานได้ ต่างกับสมัยปัจจุบัน..ก็แตกต่างไปตามยุคสมัยล่ะเนอะ..
  
ถึงเดี๋ยวนี้จะไม่ค่อยมีคนเอามาผูกเหนือเปลเด็แล้ว  แต่ก็ยังเป็นธุรกิจการค้าที่ทำรายได้ให้แก่ ชาวบ้านด้วย  คือ ซื้อไปประดับตกแต่งบ้าน เป็นของที่ระลึกส่งออกต่างประเทศ  แล้วยังนำไปเป็นของเซ่นไหว้เพื่อการแก้บนได้อีกนะ...แต่ถ้าจะแยกกลุ่ม ก็คงมีปลาตะเพียนสาน ๒ ชนิด คือ
  1. ชนิดลวดลายและตกแต่งสวยงาม ซึ่งเริ่มประดิษฐ์ขึ้นในสมัยรัชกาลที่ ๕ แล้วค่อยพัฒนามาเรื่อย ๆ ทั้งลงสี  แล้วยังเขียนลวดลายลงบนตัวปลาตะเพียน โดยประยุกต์มาจากลายผ้านุ่ง ลายเสื่อน้ำมัน และลายตามจินตนาการของตนเอง มีการตกแต่งพวงปลาตะเพียนด้วยอุปกรณ์สำเร็จรูปต่าง ๆ ตามสมัยนิยม เช่น ลูกปัด  ดอกรัก และการฉลุลายใบลาน เป็นต้น
  2. ชนิดที่เป็นเพียงสีใบลานตามธรรมชาติ จากประสบการณ์ของแจมนะ เคยไปคุยกับคนที่เค้าสานสัตว์ต่าง ๆขายแถวสนามหลวง  เค้าบอกว่าถ้าเป็นต่างชาติ เค้าจะนิยมใบลานตามธรรมชาติ ไม่ต้องลงสีอะไรหรอก  แต่คนไทยคงเห็นจนเบื่อ ก็จะสนใจพวกที่มีการตกแต่งเพิ่มขึ้น  คือ ให้ดูรู้สึกว่าต้องใช้ฝีมือเพิ่ม ไม่ดูพื้น ๆ เหมือนที่เคยเห็นจนชิน (มั้ง...)
โห..วิชาการมั่ก..มั่ก..เลยคราวนี้  งั้นแปะโป้งยกยอด เรื่องส่วนประกอบเครื่องแขวนปลาตะเพียนใบลานไว้ก่อนนะ  จะแจกแจงว่ามีอะไร แล้วจะสอนทำส่วนที่ง่าย ๆ ตามสัญญานะ  นะ..
เกริ่นไว้นิด ๆ ว่า จะมีทั้งพวงเป็นระย้ามาเลย แบบข้างล่างนี้น่ะ


แล้วถ้ามีโอกาสก็อุดหนุนฝีมือชาวบ้านหน่อยนะ เพราะข่าวว่าบางแห่งก็คนทำน้อยลงแล้ว ถึงขนาดหน่วยราชการบางแห่งเกรงว่าจะสูญไป  ยังดีที่ โอทอป เดี๋ยวนี้ก้าวหน้ามีการขายออนไลน์แล้ว  มีระบุเลยพวงนึงขนาดเท่าไหร่  มีลูกกี่ตัว  ^  ^  เค้าบอกว่า "รับรองความประทับใจ เนื่องจากหาซื้อได้ยากแล้วในปัจจุบัน"   ไม่เชื่อก็ลองค้นดูใน Google ก็ได้ ตามด้านล่าง


คำหลักเพื่อค้นข้อมูลเพิ่ม  :
  • ใบลานที่ใช้ในการสานปลาตะเพียน  
  • ปลาตะเพียนสานใบลาน (เลือกสีได้)
  •  ยาว 40 นิ้ว กว้าง 12 นิ้ว (ตัวลูก 9 ตัว) ราคา
  • ยาว 12 นิ้ว กว้าง 6 นิ้ว (ตัวลูก 6 ตัว) ราคา 
  •  

แหล่งข้อมูล :  โอเคเนชั่น     สนง.เลขาธิการสภาการศึกษา

ไม่มีความคิดเห็น:

สถิติผู้เยี่ยมชมทั้งหมด

Flag Counter

ขอบคุณ ผู้ชมเดือนนี้